Advertisement
Guest User

ประวัตศาสตร์ไทย พุทธ และผี

a guest
Jan 29th, 2015
335
0
Never
Not a member of Pastebin yet? Sign Up, it unlocks many cool features!
text 12.49 KB | None | 0 0
  1. ประวัตศาสตร์ไทย พุทธ และผี
  2.  
  3. ชาติไทยเข้าสู่จุดสูงสุดในสมัยสุโขทัย ความศิวิไลซ์ของสยามเสื่อมถอยลงในสมัยอยุธยาเพราะว่า รับเอาวิถีปฏิบัติและความเชื่อของเขมรมาใช้ เช่น ระบบทาส และ ความเชื่อเรื่องเทวราชา.
  4. (หน้า๑๙๙หนังสือประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย/คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร/สำนักพิมพ์มติชน ภาษาไทยครั้งแรก)
  5.  
  6. ในทางปฏิบัติ เถรวาทแท้ ๆ นั้น ปะปนอยู่กับวิถีปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ ซึ่งรวมทั้งการบวงสรวงเทวรูปฮินดู ความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิทธิ์ของผี โดยเฉพาะอำนาจที่จะทำนายล่วงหน้าและส่งอิทธพลสู่อนาคต
  7.  
  8.  
  9. เจ้า ที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประทับใจกับเทพเจ้าฮินดูเพราะว่า เจ้าโยงกับอำนาจของตัวเองกับอำนาจของเทพเจ้าฮินดูได้(พระนารายณ์ พระศิวะ) ตามตัวอย่างที่เห็นได้ที่นครวัด
  10.  
  11. ดังนั้น กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาจึงรับพราหม์เข้ามาช่วยวางแผนแลประกอบพิธีกรรมในวัง แต่ลัทธิสยามฮินดูนั้นก็ไม่ได้รับความนิยมจนมีคนนับถืออย่างกว้างขวาง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เทพเจ้าฮินดู กลายเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าและได้รับการยอมรับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิเสมือนผี มีอิทธิฤทธิ์ของท้องถิ่น (นิยมให้สิงสถิตอยู่ในศาลพระภูมิ)ดังนั้น พิธีกรรมที่พราหม์ประกอบกิจในรั้วในวังจึงไม่ได้แผ่ขยายออกไปเกินขอบเขตรั้ววังมากนัก(ยกเว้นการตั้งศาลพระภูมิ)
  12.  
  13. การนับถือผี ซึ่งอยู่ควบคู่กับศาสนาพุทธนั้น ผู้ทำพิธีกรรมพิเศษจำนวนมาก เป็นผู้หญิง
  14.  
  15. เจ้า เห็นช่องทางจะยึดโยงเอาอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติของผีสางเทวดา หรือสิ่งปาฏิหาริย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนา จึงยึดโยงตัวเองกับอำนาจอิทธิฤทธิ์ของผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์,ภูเขาศักดิ์สิทธิ์,แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์,ช้างเผือก,พระธาตุของพระพุทธเจ้าที่ฝังอยู่ในเจดีย์ แลฤาษีรักสันโดด
  16.  
  17. อย่างไรก็ตามการยึดโยงดังกล่าวนั้นต้องได้รับความเห็นชองจากพระสงฆ์ ดังนั้น เจ้า และเถรสมาคม จึงต่อรองกันในเรื่องที่ว่า ฝ่ายใดจะจะมีบทบาทเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และเป็นผู้นำด้านการเมือง เถรสมาคมจึงต้องมีเจ้าคุ้มครองและอุปถัมภ์ และเพื่อเป็นการตอบแทน เจ้า อาจเรียกร้องอำนาจด้านการบริหารเหนือพระสงฆ์ รวมทั้งเรียกร้องให้สถาบันสงฆ์ยอมรับบทบาทด้านการปกครอง ของเจ้า
  18. (หน้า ๔๙ หนังสือประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย/คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร/สำนักพิมพ์มติชน ภาษาไทยครั้งแรก)
  19.  
  20. อำนาจของกษัตริย์ถูกทำให้ดูยิ่งใหญ่มากขึ้นไปอีก แฝงด้วยความลี้ลับ และพิธีกรรมมากมาย พระเจ้าปราสาททอง(พศ.๒๑๗๒-๒๑๙๙)ฟื้นฟูอารยธรรมเขมร เป็นส่วนหนึ่งของไทย ราชวงค์อ้างว่า “สืบสายสัมพันธ์” โยงไปได้ถึงกษัตริย์สมัยนครวัด นำพราหม์จากอินเดียเข้ามาประกอบพิธีกรรมที่พิศดารในราชสำนัก สร้างวัดโดยอิงแบบแปลนของนครวัด มีนัยว่าเป็นที่สถิตของ ทั้งเทวะและกษัตริย์ในเวลาเดียวกัน(หน้า ๔๓)
  21.  
  22. หลังราวๆปี พ.ศ.๒๑๕๐ พุทศาสนาแนวเถรวาท ได้รับความนิยมสูง มีการสร้างวัดใหม่ๆเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับการค้าขยายตัว...ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของขุนนาง.กษัตริย์อุปถัมภ์พราหมณ์มากกว่าพุทธ
  23.  
  24. พระนารายณ์ (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) ทรงสร้างหรือซ่อมวัดไม่กี่วัด ไม่ค่อยทรงออกงานพิธีกรรมของพุทธ และดูเหมือนว่าราชสำนักจะเต็มไปด้วยขุนนางมุสลิมและคริสเตียน พระมหากษัตริย์เปิดรับความรู้ใหม่ๆ ด้วยการส่งราชฑูตไปแลกเปลี่ยนกับ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส เปอร์เซียพระมหากษัตริย์ยอมให้มีเสรีภาพทางศาสนารวมทั้งการแผ่ขยายของศาสนาคริสตร์จนเป็นที่ประทับใจของชาวยุโรป(ขณะเวลาเดียวกันนั้น ทางยุโรปก็ฆ่าฟันกันด้วยเรื่องศาสนา) การเปิดกว้างดังกล่าวนั้น ทำให้พวกฝรั่งเศสและเปอร์เซียหลงเชื่อไปว่า อาจจะชักชวนกษัตริย์และชาวสยามเปลี่ยนศาสนาได้ ความหลงผิดนี้ทำให้เกิดเหตุวิกฤตเมื่อพ.ศ.๒๒๓๑ จนฟอลคอนถูกประหารชีวิต ฝรั่งเศสถูกไล่ออกไป และอังกฤษต้องหลีกหนีออกจากสยาม วิกฤตในพ.ศ.๒๒๓๑พระสงฆ์จัดตั้งฆราวาสให้จับอาวุธเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อสายของพระนารายณ์เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป.กษัตริย์ที่สืบต่อจากพระนารายณ์ไม่ได้เป็นสมาชิกของราชวงค์.
  25. พระเจ้าอยุ่หัวบรมโกศ (พศ.๒๒๗๖-๒๓๐๑)และขุนนางในสมัยของพระองค์ สร้างและซ่อมวัดเป็นจำนวนมากเสียจนภูมิทัศน์เหนือขอบฟ้าของอยุธยาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ทรงถือวัตรตามแนวพุทธอย่างเคร่งครัด จนทรงได้รับสมญาว่า"พระธรรมราชา" พระเกียรติคุณเลื่องลือไปถึงศรีลังกา ถิ่นกำเนิดของพุทธเถรวาท โดยศรีลังกาได้ส่งคณะสงฆ์มาขอให้อยุธยาส่งพระสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูสถาบันสงฆ์เถรวาทที่เสื่อมถอยที่ศรีลังกาเสียใหม่. (หน้า ๔๑-๕๑ )
  26.  
  27.  
  28.  
  29. ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
  30.  
  31. ราชาศัพท์ของไทย
  32.  
  33.  
  34. “ระบบความนึกคิด” หรือ รูปการจิตสำนึก(ideology) ผ่านราชาศัพท์ คือ
  35. วลี " ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม " เราเป็นละอองของฝุ่นใต้ตีน
  36. 1) เป็นรูปแบบของภาษาที่สถาปนาและปกป้องอุดมการณ์แห่งลัทธิเทวราช
  37. 2) ภายใต้ราชาศัพท์ตามอุดมการณ์แห่งลัทธิเทวราช ราษฎรไม่มีความเป็นมนุษย์ จึงขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย และหลักสิทธิมนุษยชน
  38. 3) จะว่าไปแล้ว อุดมการณ์ลัทธิเทวราช ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ที่บัญญัติว่า“พระมหา กษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ”เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์นับถือพุทธศาสนา แต่พุทธศาสนาไม่ได้สอนลัทธิเทวราช
  39. พุทธะไม่ได้ถือว่ากษัตริย์เป็น“เทวราช”แต่ถือว่าเป็น“สมมติราช”
  40.  
  41. ****************************************
Advertisement
Add Comment
Please, Sign In to add comment
Advertisement